วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายเบื้องต้น

1.แบบสายตรง
      สายสัญญาณแบบ Straight-through คือการต่อสายสัญญาณที่เหมือนกันทั้งสองด้าน อาจจะ
เป็นแบบ 568A ทั้งสองด้าน หรือแบบ 568B ทั้งสองด้านก็ได้ จะใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างชนิดกัน
                       การเข้าหัวแบบสายตรง ( Straight-through cable EIA/TIA 568B )

                       การเข้าหัวแบบสายตรง ( Straight-through cable EIA/TIA 568A )


2.สายไขว้
  การเลือกมาตรฐานแบบใดแบบหนึ่งเป็นหัวข้างหนึ่ง ส่วนหัวอีกข้างหนึ่งก็เป็นอีก
มาตรฐานหนึ่ง อาจเริ่มต้นด้วยแบบ T568A แล้วอีกข้างเป็น T568B หรือสลับกันก็ได้ โดยหัว
ทั้งสองข้างต้องเรียงสายไม่เหมือนกัน ใช้ในลักษณะการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน
                     การเข้าหัวแบบสายไขว้ ( Crossover cable EIA/TIA 568A & 568B )


การต่อสายแลน
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเข้าหัวสาย UTP
2. ตัดปลายสายให้เสมอกัน
3. ปอกสายโดยจับปลายด้านหนึ่งของสาย UTP แล้วใช้คัตเตอร์ ปลอกสายพลาสติกที่หุ้มสาย
สัญญาณออก
4. แยกคู่สายนำสัญญาณออกจากกัน
5. เรียงเส้นของสายนำสัญญาณ โดยต้องเรียงให้ถูกต้องกับการใช้งาน (สายต่อตรง หรือ สายต่อ
ไขว้) และตัดปลายสายทุกเส้นให้เสมอกัน
6. สอดสายเข้าใน RJ 45 Plug
7. นำสายที่สอดใน RJ 45 Plug สอดเข้าในคีมบีบ

หลักการทำงานของ NAT

NAT คือ
    ในอดีตการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องมี Public IP address เป็นการเฉพาะจึงจะสามารถเชื่อมต่อและใช้งานได้ แต่เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ตทำให้ IP ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ดังนั้น NAT จึงเป็นทางออกหนึ่งสำหรับการแก้ไขปัญหานี้ โดยการทำ NAT นั้นทำให้สามารถใช้ private IP เชื่อมต่อและใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ และยังเพิ่มความปลอดภัยทางเครือข่าย (network security) อีกด้วย
NAT เป็นมาตรฐานหนึ่งของ RFC ถูกเขียนขึ้นในปี 1994 โดยสามารถแปลง (translation) IP หลายๆ ตัวที่ใช้ภายในเครือข่ายให้ติดต่อกับเครือข่ายอื่นโดยใช้ IP เดียวกัน ซึ่งถ้าดูจากภาพแล้วจะเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    จากภาพจะเห็นว่าตัว NAT device มี IP address เป็น 192.168.1.1 สำหรับเครือข่ายภายใน (inside network) และมี IP address เป็น 203.154.207.76 สำหรับเครือข่ายภายนอก (outside network) เมื่อเครื่อง 192.168.1.20 ต้องการสร้างการติดต่อออกไปภายนอก (เช่น อินเทอร์เน็ต) ตัว NAT device ก็จะแปลง IP จาก 192.168.1.20 ไปเป็น 203.154.207.76 ซึ่งถ้ามองจากเครือข่ายภายในแล้วจะเห็นว่า เครื่องในเครือข่ายภายในสามารถ access ออกไปยัง external network ได้โดยตรง ในขณะที่เครื่องจากภายนอกจะไม่สามารถติดต่อเข้ามาได้ถ้าเครื่องจากเครือข่ายภายในไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มต้นการติดต่อก่อน และข้อมูลขาออกที่ออกไปยัง external network นั้นจะเป็นข้อมูลที่มี source IP address เป็น outside IP address ของ NAT device
NAT มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร
    เมื่อ NAT เริ่มทำงาน มันจะสร้างตารางภายในซึ่งมีไว้สำหรับบรรจุข้อมูล IP address ของเครื่องในเครือข่ายภายในที่ส่ง packet ผ่าน NAT device และจากนั้นมันก็จะสร้างตารางไว้สำหรับเก็บข้อมูลหมายเลขพอร์ต (port number) ที่ถูกใช้ไปโดย outside IP address จะมีกระบวนการทำงานดังนี้
1.มัน จะบันทึกข้อมูล source IP adress และ source port number ไว้ใน Log File
2.มัน จะแทนที่ IP ของ packet ด้วย IP ขาออกของ NAT device เอง
และเมื่อ NAT device ได้รับ packet ย้อนกลับมาจาก external network มันจะตรวจสอบ destination port number ของ packet นั้นๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูล source port number ใน Log File ถ้าเจอข้อมูลที่ตรงกันมันก็จะเขียนทับ destination port number, destination IP address ของ pakcet นั้นๆ แล้วจึงส่ง packet นั้นไปยังเครื่องอยู่ภายในเครือข่ายภายใน

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิชา การซ่อมบำรุงไมโครคอมพิวเตอร์3

อธิบายขั้นตอนการถอด-ประกอบ คอมพิวเตอร์เป็นข้อๆ
ตอบ การถอด 1การถอดปลั๊กสายไฟ
                       2ไขน็อตเคสให้หมด
                       3ดึงสายแพน ดึงสายต่างๆให้หมด
                       4ทำการถอดแรม การด์จอ ฮาร์ดดิส ซีดีรอม 
                       5ทำการถาดซิ้งพัดลม แล้วถอดซีพียู (ควรต้องระวัง)
                       6ถอดเมนบอร์ด
                       7เสร็จสิ้น
ตอบ การประกอบคอมพิวเตอร์ 
 
 
   1. ขั้นแรกให้เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ไขควงสี่แฉก กล่องสำหรับใส่น็อต คู่มือเมนบอร์ด คีมปากจิ้งจก  
 
 
   2. เริ่มจากการติดตั้งซีพียูก่อน โดยง้างขาล็อคของซ็อกเก็ตขึ้นมาจากนั้นนำซีพียูมาใส่ลงไปในซ็อกเก็ตโดยให้วางตำแหน่งขาที่ 1 ของซีพียูและซ็อกเก็ตให้ตรงกัน โดยสังเกตว่าที่ขาที่ 1 ของซีพียูจะทำเครื่องหมายเป็นจุดเล็กไว้ที่มุมด้านบนของซีพียู
 
 
   3. เมื่อวางซีพียูตรงล็อคกับซ็อกเก็ตแล้ว จากนั้นให้กดขาล็อกลงไปเหมือนเดิม แล้วนำซิลิโคนมาทาตรงบริเวณคอร์ (แกน) ของซีพียู และไม่ควรทาซิลิโคนให้หนา หากเห็นว่าหนาเกินไปให้ใช้กระดาษหรือแผ่นพลาสติกมาปาดออกเสียบ้าง
   4. ติดตั้งฮีทซิงค์และพัดลมลงไปบนคอร์ของซีพียู ติดล็อกให้เรียบร้อยในขั้นตอนนี้มีจุดที่ต้องระวังอยู่ 2 จุดคือ การติดตั้งฮีทซิงค์ของพัดลมจะต้องแนบสนิทกับคอร์ของซีพียู อย่าพยายามกดแรงไป บางทีคอร์ของซีพียูอาจบิ่นได้ ส่วนขาสปริงที่ยึดพัดลมบางทีมันแข็งเกินไป บางคนใช้ไขควงพยามยามกดขาสปริง ให้เข้าล็อก ซึ่งอาจทำให้พลาดไปขูดเอาลายปริ้นบนเมนบอร์ดขาดทำให้เมนบอร์ดอาจเสียหายได้

5. เสียบสายไฟของพัดลมเข้ากับขั้ว CPU FAN โดยดูจากคู่มือเมนบอร์ด
6. นำแรมมาเสียบเข้ากับซ็อกเก็ตแรมโดยให้ตรงกับร่องของซ็อกเก็ต จากนั้นจึงกดลงไปจนด้านล็อกทั้ง 2 ด้านดีดขึ้นมา (บางเมนบอร์ดตัวล็อกทั้งสองด้านอาจไม่จำเป็นต้องดีดขึ้นมาก็ได้ให้ดูว่าเข้าล็อกกันก็พอ)
7. ขันแท่นรองน็อตเข้ากับเคส
8. นำเมนบอร์ดที่ได้ติดตั้งซีพียูและแรมวางลงไปบนเคส จากนั้นขันน็อตยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคสให้ครบทุกตัว
9. เสียบการ์ดแสดงผลลงไปในสล็อต AGP เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส
10. เสียบการ์ดเสียงลงไปในสล็อต PCI เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส
11. เสียบสายเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วต่อบนเมนบอร์ด โดยควรเสียบให้ปลั๊กของสายเพาเวอร์ซัพพลายตรงล็อกกับขั้วต่อบนเมนบอร์ด
12. สอดไดรฟ์ซีดีรอมเข้ากับช่องว่างหน้าเคส แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคส
ให้แน่น
13. เสียบสาย IDE เข้ากับไดรฟ์ซีดีรอมโดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ
จากนั้นจึงเสียบสายไฟและสายสัญญาณเสียงเข้าไปด้วย
14. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Secondary IDE บนเมนบอร์ดโดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย

15. สอดฮาร์ดดิสก์เข้ากับช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น
16. เสียบสาย IDE เข้ากับฮาร์ดดิสก์โดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟเข้าไปด้วย
 17. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Primary IDE บนเมนบอร์ด โดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย
18. สอดไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น
19. เสียบสายไฟเข้ากับขั้วต่อสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์ ให้สังเกตสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์จะมีหัวขนาดเล็กกว่าสายไฟของซีดีรอมและฮาร์ดดิสก์
20. เสียบสายแพขนาด 34 เส้น (เส้นเล็กกว่าสายแพของฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม)ให้ด้านที่มีการไขว้สายเข้ากับขั้วต่อไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์ โดยแถบสีแดงของสายแพต้องตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย หากใส่ผิดด้านไฟของไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์จะติดตลอด วิธีแก้ไขคือให้หันสายแพกลับด้านเพราะ ไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์บางยี่ห้ออาจต้องใส่สลับด้านกัน
21. เสียบสายแพอีกด้านเข้ากับขั้วต่อฟล็อบปี้ดิสก์บนเมนบอร์ด โดยให้สายสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือ pin1 ของขั้วต่อด้วย
22. เสียบสายสัญญาณต่างๆ จากเคส เช่น สวิตช์เปิดปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะเปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิสก ปุ่ม Reset ลำโพง ลงบนเมนบอร์ดควรดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้วย โดยต้องเสียบขั้วให้ถูกหากผิดขั้ว คอมพิวเตอร์ จะไม่ติดหรือมีไฟค้างตลอดเวลา วิธีแก้ไขคือให้เราลองสลับขั้วและเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่
23. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราลองสำรวจดูว่ามีน็อตหรืออุปกรณ์อื่นๆตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ เพราะอาจทำให้เกิดกระแสไฟลัดวงจรจนเกิดความ เสียหายต่อเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ นอกจากนี้ควรตรวจสอบ การติดตั้งทั้งหมดว่าเรียบร้อยดีแล้ว เช่น การ์ดต่างๆ หรือสายสัญญาณเสียบ แน่นหนาดีหรือยัง โดยเฉพาะฮีทซิงค์และพัดลมต้องแนบสนิทกับซีพียู พร้อมทั้งล็อกติดกันอย่างแน่นหนา
24. เมื่อเรียบร้อยดีแล้วปิดฝาเคสและขันน็อตให้เรียบร้อย ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

IT 6204 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายเบื้องต้น 4

1. สรุปข้อมูลสายสัญญาณทั้ง 3 ประเภท มาเป็นข้อๆ (สายโคแอ็กเชียล,สายคู่บิดเกลียว,สายใยแก้วนำแสง)
   สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) - เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้
- มีทองแดงเป็นแกนกลาง
- มีฉนวนหุ้ม 3 ชั้น (ฉนวน,ตาข่ายโลหะ,ตัวหุ้ม)
- แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (สายโคแอ็กซ์แบบบาง,สายโคแอ็กซ์แบบหนา)
- ใช้หัวเชื่อมต่อแบบ BNC
  สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs)- มี 2 แบบ
  Shielded Twisted Pairs (STP)- มีส่วนป้องกันสัญญาณรบกวน
- ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
- ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ
- มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
- ใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11
- มีราคาแพง
   Unshielded Twisted Pairs (UTP)- เป็นที่นิยมใช้
- มีการเชื่อมต่อสายมี 2  แบบ คือ แบบ ตรง กับแบบ ไขว้
- มีความยาวไม่เกิน 100 เมตร
- มี 2 คู่ คือ คู่ส่งสัญญาณ กับ คู่รับสัญญาน
- มีสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้น
- ใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45
- เป็นแบบไม่มีฉนวนหุ้ม
- ได้รับความนิยมเพราะเนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย
   สายใยแก้วนำแสง- มี 3 ชั้น (แกน (Core),ส่วนห่อหุ้ม (Cladding),ส่วนป้องกัน (Coating) )
- ใช้ทฤษฎีการหักเหของแสง
- รองรับย่านความถี่ได้สูง (High Bandwidth)
- การป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน (Noise Immunity)
- มีขนาดเล็ก (Small Size)
- น้ำหนักเบา (Light Weight)
- ปลอดภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร (No Short Circuit, No Spark or Fire Hazard)
- มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูล (Transmission Security)
- ราคาแพง (High Cost)
2. การรบกวนสัญญาณหมายถึงอะไร ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์?    
    ตอบ สัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ที่เข้ามารวมกับสัญญาณเอาท์พุตทําให้ค่าที่ได้เปลี่ยนแปลงไป เป็นสิ่งที่ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพด้อยลง โดยอาจเป็นตัวกลาง หรือสิ่งที่คอยรบกวนการติดต่อสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารมีความติดขัด สะดุดชะงัก หรือเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

วิชา การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ


จงเขียนโปรแกรมแสดงตัวเลข 1-100 โดยใช้การเขียนแบบอาเรย์หลายมิติ



class TestArray  {
          public static void main(String[] args){
              int number [][] = new int[20][];
              int count=1,num=1;
                 for(int i=0; i < 14; i++){
                   number[i] = new int[count++];
                 for(int j=0; j <= i; j++){
                   number [i][j] = num++;
              if( number [i][j] <= 100){
                    System.out.print(number[i][j]+"\t");}
                }
                    System.out.println();
                           }
            }
}

วิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายเบื้องต้น

จงสรุปความคำต่อไปนี้


1. File and Print Service
2. Management Service
3. Security Service
4. Internet/Intranet Service
5. Multiprocessing and Clustering




บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์  (File  and  Print  Services)

การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์ถือได้ว่าเป็นจุดประสงค์หลักของการสร้างระบบเคข่ายดังนั้นฟังก์ชันนี้จึงเป็นส่วนที่สำคัญของระบบปฏิบัติการเครือข่าย บริการจัดเก็บฟล์และการพิมพ์ของระบบจะขึ้นอยู่กับความามารถในการจัดการเครื่องพิมพ์ ความสามารถในการจัดการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บไฟล์ที่แชร์ระหว่างผู้ใช้รวมถึงระบบควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากรเหล่านี้ด้วย


บริการดูแลและจัดการระบบ  (Management  Services)


การจัดการเครือข่ายถือเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน  เช่น  การจัดการเกี่ยวกับผู้ใช้  (User  Accounts)  คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย  การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครือข่ายการรายงานเกี่ยวกับข้อผิดพลาดต่าง    ที่เกิดขึ้นในเครือข่าย   และการเฝ้าดูระบบเครือข่ายเพื่อทราบถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและสามารถแก้ไขได้ทันเวลา หรือก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่  ยิ่งเครือข่ายมีขนาดใหญ่ยิ่งจะทำให้หน้าที่ของผู้ดูแลระบบซับซ้อนมากขึ้น  ดังนั้นระบบปฏิบัติการเครือข่ายจำเป็นต้องมีฟังก์ชันที่ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานเหล่านี้  ปัจจุบันระบบปฏิบัติการสมัยใหม่จะใช้ไดเร็คทอรีเข้ามาช่วย  เช่น  เน็ตแวร์ก็จะมี NDS  Directory  (Novell  Directory  Services Directory)   หรือถ้าเป็นวินโดวส์  2003  ก็จะมี  ADS (Active  Directory  Services)   เป็นต้น  เครื่องมือนี้จะช่วยให้การจัดการเครือข่ายง่ายยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่


บริการอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต  (Internet/Intranet   Services)
 ปัจจุบันการให้บริการอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตถือเป็นสิ่งที่สำคัญ   และจำเป็นสำหรับองค์กร  ระบบปฏิบัติการเครือข่ายต้องมีฟังก์ชันที่ให้บริการด้านนี้ด้วย  บริการที่กล่าวนี้คือ  ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ ,เว็บเซิร์ฟ เวอร์, เมลเซิร์ฟเวอร์, เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์   เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยเฉพาะการให้บริการเว็บ  เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สะดวกต่อการใช้งานฝั่งไคลเอนท์เพี
IE) หรือเน็ตสเคป (Netscape) ก็สามารถใช้งานได้แล้ว  และในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มไปทางอินเตอร์เน็ตมาก ดังนั้นระบบปฏิบัติการเครือข่ายควรให้บริการด้านนี้ได้ด้วย


บริการมัลติโพรเซสซิ่งและคลัสเตอริ่ง 
 (Multiprocessing  and  Clustering  Services)

ประสิทธิภาพในการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ และความเชื่อถือได้หรือความสามารถในการให้บริการอย่างต่อเนื่องก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะกับระบบธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล การที่เซิร์ฟเวอร์หยุดให้บริการเพียงแค่ไม่กี่ก็อาจทำให้ธุรกิจเสียหายอย่างที่คาดไม่ถึงได้เช่นกัน ประสิทธิภาพในการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์นั้นจะขึ้นอยู่กับทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ความท้าทายของความสามารถในการขยายระบบ (Sociability) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการทำให้ระบบมีความเชื่อถือสูง (High  Availability) องค์กรต้องสามารถเพิ่มสมรรถนะของแอพพลิเคชัน  หรือทรัพยากรของเครือข่ายเมื่อจำเป็นได้  โดยไม่มีผลทำให้ระบบต้องหยุดชะงัก

วิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายเบื้องต้น

ให้นักศึกษาและอธิบายมาอย่างละเอียด




โปรโตคอล ( Protocol)

โปรโตคอล ( Protocol) หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดี ข้อเสีย และใช้ในโอกาสหรือสถานการณ์แตกต่างกันไป คล้ายๆ กับภาษามนุษย์ที่มีทั้งภาษาไทย จีน ฝรั่ง หรือภาษาใบ้ ภาษามือ หรือจะใช้วิธียักคิ้วหลิ่วตาเพื่อส่งสัญญาณก็จัดเป็นภาษาได้เหมือนกัน ซึ่งจะสื่อสารกันรู้เรื่องได้จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน ในบางกรณีถ้าคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสื่อสารกันคนละภาษากันและต้องการนำมาเชื่อมต่อกัน จะต้องมีตัวกลางในการแปลงโปรโตคอลกลับไปกลับมาซึ่งนิยมเรียกว่า Gateway ถ้าเทียบกับภาษามนุษย์ก็คือ ล่าม ซึ่งมีอยู่ทั้งที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์แยกต่างหากสำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ หรือาจะเป็นโปรแกรมหรือไดร์ฟเวอร์ที่สามารถติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ได้เลย

IP Adress

IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด
IP Addressที่ใช้กันอยู่นี้เป็น ตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์
11101001/ 11000110/ 00000010/ 01110100
แต่เมื่อต้องการเรียกIP Address จะเรียกแบบไบนารีคงไม่สะดวก จึงแปลงเลขBinary หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ ( 8 บิต ) ให้เป็นตัวเลขฐานสิบโดยมีจุดคั่น
11101001 11000110 00000010 01110100
158    . 108    . 2    . 71

เมื่อตัวเลขIP Addressจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกำหนดให้กับเครื่อง และอินเทอร์เน็ตเติบโตรวดเร็วมาก เป็นผลทำให้IP Addressเริ่มหายากขึ้น
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
1. Network Address
2. Computer Address

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Network Operating System (NOS) 

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Network Operating System (NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย สำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่
กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มี คุณสมบัติในการ
จัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมู
     ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการ
เรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่อง
ไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย