วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายเบื้องต้น1

แบบฝึกหัด 1


1. เหตุใดจึงต้องเชื่อมโยงเครืองข่ายคอมพิวเตอร์
  เพื่อมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ร่วมกันทำงานสร้างสรรสังคมเพื่อให้ ความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้นการทำงานตลอดจนสังคมและการเมือง  ทำให้ต้องมีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันมีจึงความจำเป็นที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน


2. OSI มีกี่เลเยอร์ อะไรบ้าง อธิบาย
  -  OSI   มี  7   Layer  ดังนี้


     1. Layerชั้น  Physical  เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร  ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง)  ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับเลเยอร์ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector)  เช่น 
RS-232-C  มีกี่พิน  (PIN)  แต่ละพินทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์  เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่าง ๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้
     2.  Layerชั้น  Data Link  จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม  ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับว่าได้รับข้อมูลแล้ว  เรียกว่าสัญญาณ ACK (Acknowledge)  ให้กับผู้ส่ง  แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK  หรือได้รับสัญญาณ NAK (Negative Acknowledge)  กลับมา  ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมูลไปให้ใหม่  อีกหน้าที่หนึ่งของเลเยอร์ชั้นนี้คือ ป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกิดขีดความสามารถขเเครื่องผู้รับจะรับข้อมูลได้
     3.  Layerชั้น  Network  เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการส่งผ่าน ข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง  ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะต้องเส้นทางการรับ-ส่งข้อมูลมากกว่า  1  เส้นทาง  ดังนั้นเลเยอร์ชั้น  Network  นี้จะมีหน้าที่เลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด  และระยะทางสั้นที่สุดด้วย  ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่  4 จะถูกแบ่งออกเป็นแพ็กเกจ ๆ 
     4.  Layerชั้น Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host หรือเครื่องต่อเครื่อง และจากเลเยอร์ชั้นที่  4  ถึงชั้นที่  7  นี้รวมกันจะเรียกว่า  เลเยอร์  End-to-End ในเลเยอร์ชั้น  Transport  นี้เป็นการสื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์)  กันจริง ๆ เลเยอร์ชั้น  Transport  จะทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น  Session  นั้นไปถึงปลายทางจริง ๆ หรือไม่  ดังนั้นการกำหนดตำแหน่งของข้อมูล (Address)  จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้  เนื่องจากจะต้องรับรู้ว่าใครคือผู้ส่ง และใครคือผู้รับข้อมูลนั้น
      5.  Layerชั้น  Session  ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผู้ใช้จะใช้คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปใน ระบบ  ในการสร้างการเชื่อมโยงนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่งของจุดหมายปลายทางที่ต้องการติดต่อสื่อสารด้วย  เลเยอร์ชั้น  Session  จะส่งข้อมูล ทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport  เป็นผู้จัดการต่อไป  ในบางเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session  และเลเยอร์  Transport   อาจจะเป็นเลเยอร์ชั้นเดียวกัน
      6.  Layerชั้น  Presentation  ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์  กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text)  และแปลงรหัส  หรือแปลงรูปของข้อมูล ให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน  เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในระบบ
      7.  Layerชั้น  Application  เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI  ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อกันระหว่างผู้ใช้โดยตรงซึ่งได้แก่  โฮสต์คอมพิวเตอร์  เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC  เป็นต้น  แอปพลิเคชันในเลเยอร์ชั้นนี้สารมารถนำเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่า จะมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร  เพราะจะมีเลเยอร์ชั้น Presentation  เป็นผู้รับผิดชอบแทนอยู่แล้ว  ในรูปแบบ OSI  เลเยอร์นั้น  Application  จะทำการติดต่อกับเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น  โปรโตคอลของในแต่ละชั้นจะแตกต่างกันออกไป  แต่อย่างไรก็ตามการที่เครื่องคอมพิวเตอร์
หลาย ๆ เครื่องจะติดต่อสื่อสารกันได้  ในแต่ละเลเยอร์ของแต่ละเครื่องจะต้องใช้โปรโตคอลแบบเดียวกัน  หรือถ้าใช้โปรโตคอลต่างกันก็ต้องมีอุปกรณ์  หรือซอฟร์แวร์ที่สามารถแปลงโปรโตคอลที่ต่างกันนั้นให้มีรูปแบบเป็นอย่างเดียวกัน  เพื่อเชื่อมโยงให้คอมพิวเตอร์ทั้ง  2  เครื่องสามารถติดต่อกันได้

3. วาดรูป รูปแบบการเชื่อต่อเครือข่ายต่อไปนี้พร้อมอธิบาย
  3.1 Bus เครือข่ายแบบบัส



เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสาย เป็นการเชื่อมต่อแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียว เรียกว่าแบ็กโบน (backbone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้ โดยการจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน ข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก




3.2 Star เครือข่ายแบบดาว

 เป็นการเชื่อมต่อแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียว เรียกว่าแบ็กโบน (backbone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้ โดยการจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน ข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยากเป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด โดยสถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลางแบบจุดต่อจุด การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกันข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมี ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที










3.3 Ring เครือข่ายแบบวงแหวน


เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานีที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง และทุกสถานีมีเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วยโดยกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้ ข้อดีคือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น