วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิชา การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ 5

ให้นักศึกษาไปศึกษาการวน Loop

Java loop for เขียนโปรแกรมวน Loop ใน ภาษา Java
     การเขียนโปรแกรมไม่ว่าภาษาใดๆ ก็ตาม พื้นฐานที่เราต้องรู้จะมีอยู่ไม่กี่เรื่อง
หลักๆ เช่น การใช้งานตัวแปร, การเช็คเงื่อนไข และก็ การทำงานซ้ำๆ หรือการ วน Loop นั่นเอง
วันนี้จะสอนวิธีการ วน Loop ใน ภาษาจาวา
การวน Loop ในภาษา จาวา มีหลายแบบ แบบที่จะพูดถึงวันนี้คือ For Loop
คำสั่ง while loops








    

คำสั่ง if

เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ โดยถ้าเป็นจริงจะไปทำงานในกลุ่มคำสั่งที่เรากำหนดไว้ และถ้าเป็นเท็จก็จะไปทำงานอีกจุดหนึ่งซึ่งเป็นทางเลือก อีกทางหนึ่งในโปรแกรม ผมจะแบ่งรูปแบบของคำสั่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบเงื่อนไขเดียว (simple if) ,แบบ 2 เงื่อนไข (if…else) และแบบซ้อน (nested if)
   แบบเงื่อนไขเดียว (simple if)





แผนภาพเพื่อเพิ่มความเข้าใจ...










ตัวอย่างโปรแกรม















อธิบายโปรแกรม จากโปรแกรมจะมีชื่อคลาสเป็น SimIF ใน main method จะประกาศตัวแปรไว้ 3 ตัวคือ x = 8 , y = 2 และตัวแปร z จากนั้นมาเจอคำสั่ง if โดยมีเงื่อไข ว่า x มากกว่าหรือเท่ากับ y ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะเข้ามาทำคำสั่งภายในเครื่องหมายปีกกาทันที คือให้หาค่าของ x-y และแสดงผลออกมา แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะข้ามาทำส่วน ต่อไปของโปรแกรมคือ หาค่าของ x+y และแสดงผลออกมาเมื่อรันโปรแกรมนี้แล้วจะได้ผลลัพธ์คือ z = 6 และ z = 10 นะครับ ให้ลอง
เปลี่ยนค่า x ให้น้อยกว่าค่า y ดู แล้วลองรันโปรแกรมดูใหม่ว่าผลออกมาจะเป็นอย่างไร?










คำสั่ง for loop

รูปแบบ


for(index=part1;part2;part3){ statement; }

Part1
คือ กำหนดค่าเริ่มต้น

Part2 คือ เงื่อนไขการทำงาน
Part3 คือคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนค่าตัวแปร


คำสั่ง for จะเป็นการกำหนดจำนวนครั้งในการทำงานโดยจำนวนครั้งจะขึ้นอยู่กับตัวแปร index คือค่าของ index จะต้องตรงตามเงื่อนไขการทำงน
ตัวอย่าง


วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิชา ซ่อมบำรุงไมโครคอมพิวเตอร์ 4

สิ่งที่ทำในวันนี้...

1. เช็ค - ดูเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ลง Windows - Scan virus
3. ลง Driver
4. ลงโปรแกรม  - Office
                         - Adobe Capfivate
                         - Deepfreeze
                         - USB Disk / CPE 17
                         - Address www.mcru.at.th
                         - Background Windows

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิชา IT 6203 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ4

class  TestBoolean{ // ประกาศชื่อ class เป็นชื่อ TestBoolean
public static void main(String[] args) { //ประกาศค่าตัวแปร
 boolean check = true; //Boolean ค่าจะต้องเป็น true หรือ false โดยตัวแปรจะเช็คค่า true
 boolean verify = false; // เช็คค่า false
 System.out.println(check); //แสดงค่าที่เก็บอยู่ที่ check
 System.out.println(verify);//แสดงค่าที่เก็บอยู่ที่ verify 
}
}

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายเบื้องต้น 3

1. OSI คืออะไร มีหน้าที่อะไร มีกี่เลเยอร์ แต่ละเลเยอร์มีหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ
      -  เป็นมาตรฐานการสื่อสารคอมพิวเตอร์ระบบเปิด ซึ่งมีแบบจำลองของการเชื่อมต่อระหว่างระบบแบ่งเป็น 7 ชั้น เพื่อใช้กำหนดเป็นมาตรฐานให้กับระบบต่างๆ ให้สามารถทำงานและติดต่อถึงกันได้ โดยชั้นของ OSI Model มีไว้เพื่อใช้อ้างอิงการทำงานในการเชื่อมต่อระหว่างระบบในแต่ละชั้นการทำงาน ทั้งนี้เพื่อช่วยลดขนาดของปัญหาในการเชื่อมต่อให้เล็กลง ลองนึกดูถ้าเราไม่มีการแบ่งชั้นการทำงานหากมีปัญหาเกิดขึ้นมาเราไม่สามารถรู้ได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน จะเริ่มแก้ปัญหาจากที่ใด การใช้เวลาในการแก้ปัญหาก็ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าเราแบ่งการทำงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ หากมีปัญหาเกิดเราก็สามารถรู้ได้ว่าปัญหาเกิดที่ส่วนใด การแก้ปัญหาก็สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น และความสำคัญอีกข้อหนึ่งของ OSI Model คือ เพื่อให้ผู้ผลิตแต่ละรายสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำงานร่วมกันได้และไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์และต้องทำให้ครบทุกองค์ประกอบ แต่สามารถพัฒนาขึ้นมาเพียงชั้นเดียวจากจำนวน 7 ชั้นแล้วนำไปใช้งานร่วมกับชั้นอื่นที่มีการพัฒนาไว้แล้วโดยหลักการแล้วแต่ละชั้นจะติดต่อกับชั้นในระดับเดียวกันที่อยู่บนเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง
1.Application Layer - ชั้นที่เจ็ดเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดและเป็นชั้นที่ทำงานส่งและรับข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ซอร์ฟแวร์โปรแกรม ต่างๆที่อาศัยอยู่บนเลเยอร์นี้ เช่น DNS,HTTP,Browser เป็นต้น       
2.Presentation Layer - ชั้นที่หกเป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อโปรแกรมต่างๆที่ใช้งานระบบเครือข่ายทำให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้เป็นประเภทใด เช่น [รูปภาพ, เอกสาร, ไฟล์วีดีโอ]
3.Session Layer - ชั้นที่ห้านี้ทำหน้าที่ในการจัดการกับเซสชั่นของโปรแกรม ชั้นนี้เองที่ทำให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web browser) สามารถทำงานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันหลายหน้าต่าง
4.Transport Layer - ชั้นนี้ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end) โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port) ของเครื่องต้นทางและปลายทาง
5.Network Layer - ชั้นที่สามจะจัดการการติดต่อสื่อสารข้ามเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะเป็นการทำงานติดต่อข้ามเน็ตเวิร์คแทนชั้นอื่นๆที่อยู่ข้างบน
6.Data Link Layer - ชั้นนี้จัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง
7.Physical Layer - ชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair (STP), Unshield Twisted Pair (UTP), Fibre Optic และอื่นๆ
2.SNA คืออะไร มีหน้าที่อะไร มีกี่เลเยอร์ แต่ละเลเยอร์มีหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ สถาปัตยกรรมเครือข่ายอีกชนิดหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมมาตราฐานแบบหนึ่งซึ่งต่างไปจาก 
สถาปัตยกรรมชุดโปรโตคอล TCP/IP ซึ่งมีต้นตอมาจากการทหาร นั่นคือสถาปัตยกรรม SNA (System Network Architecture) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเครือข่ายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM นับเป็น สถาปัตยกรรมทางการค้ามากกว่าที่จะเป็นสถาปัตยกรรมมาตราฐานสากล เช่น สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่ใช้เครืองคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ และเครื่อง PC ของบริษัท IBM และรูปแบบของโครงสร้าง และโปรโตคอลของสถาปัตยกรรม SNA ก็ถือว่ามีรูปแบบที่ได้ กำหนดไว้ชัดเจน และใช้งานจริงอยู่ในปัจจุบัน 
  สถาปัตยกรรม SNA ได้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1974 เพื่อเป็นรูปแบบของเครือข่ายสำหรับการ 
เชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยปราศจากความผิดพลาดในการสื่อสาร ข้อมูล และมีความเชือถือ รูปแบบและโครงสร้างของ SNA ได้มีการพัฒนาเรื่อย ๆ มาจนกลายมาเป็นรูปแบบ ของ SNA ในปัจจุบัน ลักษณะของการแบ่งชั้นของเลเยอร์จะแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์เท่ากับในรูปแบบ OSI ดังภาพ
3. TCP/IP คืออะไร มีหน้าที่อะไร มีกี่เลเยอร์ แต่ละเลเยอร์มีหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ โครงสร้างของสถาปัตยกรรมของชุดโปรโตคอล TCP/IP นั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือส่วน กรรมวิธีปฏิบัติการหรือโปรเซส (Process) โฮสต์ (Host) และเครือข่าย (Network) ในส่วนของโปรเซสก็ได้ แก่ เอนทิตี้หรือแอปพลิเคชันที่ต้องการติดต่อสื่อสารนั่นเอง ทุกโปรเซสจะกระทำในเครื่องโฮสต์ (หรือสเตชั่น) ซึ่งในแต่ละโฮสต์สามารถจะมีหลาย ๆ เอนทิตี้ไดพร้อมกันการสื่อสารระหว่างเอนทิตี้ของโฮสต์เครื่องหนึ่ง หรือ หลายเครื่องจะกระทำโดยผ่านทางเครือข่ายที่โฮสต์เชื่อมต่ออยู่   การทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างโปรเซส โฮสต์ และเครือข่ายของสถาปัตยกรรม TCP/IP ทำให้สามารถจัดรูปแบบของสถาปัตยกรรม TCP/IP ได้เป็น 4 เลเยอร์ และสามารถกำหนดชนิดของ โปรโต- คอลที่ ทำงานในแต่ละเลเยอร์ได้เป็น 4 แบบโปรโตคอลเช่นกัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในชุดโปรโตคอล TCP/IP นั้นเอนทิตี้ของแต่ละเลเยอร์อาจจะติดต่อสื่อสารข้อมุลโดยผ่านเอนทิตี้ในเล เยอร์เดียวกัน หรือเอนทิตี้ ในเลเยอร์ล่างลงไปซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป้นเลเยอร์ติดกันได้ เลเยอร์ของชุดโปรโตคอล TCP/IP ทั้ง 4 ชั้น คือ   1. เลเยอร์ Network Access   2. เลเยอร์ Internet   3. เลเยอร์ Host-to-Host   4. เลเยอร์ Process/Application   
รายละเอียดแต่ละเลเยอร์
  1. เลเยอร์ Network Access จะประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารเข้ากับเครือข่าย หน้าที่ของโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้คือจัดหาเส้นทางของข้อมูลให้ระหว่าง Host กับ Host ควบคุมการไหล ของข้อมูล และควบคุมความผิดพลาดของข้อมูล  
2. เลเยอร์ Internet ประกอบด้วยขั้นตอนการอนุญาตให้ข้อมูลไหลผ่านไปมาระหว่าง Host ของ เครือข่าย 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ดังนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น Internet นอกจากจะมีหน้าที่จัดเส้นทาง ของข้อมูลแล้ว ยังต้องทำหน้าที่เป็นเกตเวย์สำหรับการติดต่อกับเครือข่ายอื่นอีกด้วย  
3. เลเยอร์ Host-to-Host ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ส่งผ่านแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง เอนทิตี้ของ Host ต่างเครื่องกัน นอกจากนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้ยังมีหน้าที่ในการควบคุมการไหลของ ข้อมูลและควบคุมความผิดพลาดของข้อมุลด้วย โปรโตคอลที่ใช้กันโดยทั่วไปในเลเยอร์ชั้นนี้ ได้แก่   - โปรโตคอล Reliable Connection-oriented โดยทำหน้าที่จัดลำดับของข้อมูล ตรวจสอบ ตำแหน่งของต้นทางและปลายทางของข้อมูล ทำให้ข้อมูลนั้นเชื่อถือได้   - โปรโตคอล Datagram เพื่อลดขนาดของ Overhead ของข้อมูล และจัดเส้นทางการสื่อสาร   - โปรโตคอล Speed เพื่อเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลโดยการลดเวลาประวิง (Delay) .ให้เหลือน้อยที่สุด   - โปรโตคอล Real-time เป็นการรวมลักษณะของโปรโตคอล Reliable Connection-oriented กับโปรโตคอล Speed  
4. เลเยอร์ Process/Application ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่แชร์แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่ง กันและกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัลที่อยู่ไกลออกไป   โปรโตคอลในแต่ละชั้นของเลเยอร์ในชุดโปรโตคอล TCP/IP ที่ DOD ได้ประกาศใช้เป็น โปรโตคอลมาตราฐานได้แก่   - โปรโตคอล MIL-STD-1777 หรือโปรโตคอล IP (Internet Protocol) ซึ่งอยู่ในเลเยอร์ชั้น Internet (MIL-STD= Military Standard)   - โปรโตคอล MIL-STD-1778 หรือโปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol) :ซึ่งอยู่ในเลเยอร์ชั้น Host-to-Host   - โปรโตคอลในชั้น Process/Application   โปรโตคอล MIL-STD-1780 หรือโปรโตคอล FTP (File Transfer Protocol) สำหรับการส่ง ผ่าน หรือแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลที่เป็นรหัส Binary ASCII และ EBCDIC   โปรโตคอล MIL-STD-1781 หรือโปรโตคอล SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) สำหรับการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์   โปรโตคอล MIL-STD-1782 หรือโปรโตคอล Telnet สำหรับการส่งข้อมูลกับเทอร์มินัลแบบ อะซิงโครนัส  

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิชา การซ่อมบำรุงไมโครคอมพิวเตอร์ 3

1. บอกส่วนประกอบภายในเคส พร้อมทั้งอธิบายการทำงานอย่างละเอียด
        -                                                  
     Microprocessor / CPU (Central Processing Unit)

  
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง



      
  -                                                                           Motherboard หรือ Mainboard

เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย


 
      -                                                        RAM (Random Access Memory)
  หน่วยความจำแรม หน่วยความจำชนิดนี้จะบันทึกและอ่านข้อมูลด้วยกระแสไฟฟ้า แล้วต้องมีกระแสไฟจ่ายให้ตลอดเวลา ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมก็จะหายไปด้วย แรมจะถูกนำมาใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่น หากมีข้อมูลที่ซีพียูจำเป็นต้องใช้งานบ่อยๆ ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่แรมก่อน เพื่อให้ซีพียูเอาข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากแรมรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์นั่นเอง แรมยังมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น DRAM, DDRRAM, SDRAM, RDRAM, FlashRAM, VRAM เป็นต้น การเลือกซื้อแรมนั้นต้องดูว่าเมนบอร์ดรุ่นที่ต้องการซื้อหรือที่มีอยู่ มีซ็อคเก็ตสำหรับติดตั้งแรมแบบไหน เช่น เมนบอร์ดยี่ห้อ MSI รุ่น MS6373 มีสล็อตแรมแบบ 3DDR DIMM ก็คือมีซ็อคเก็ตสำหรับติดตั้งแรมได้สามชิ้น โดยแรมที่ใช้กับเมนบอร์ดนี้ต้องเป็นแรมแบบ DDR                

      -                                                             Power Supply
อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามักจะมองข้ามไปและเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเพราะถ้าขาดเจ้าตัวนี้แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเราก็เปรียบเสมือนกล่องเหล็กธรรมดาๆใช้การอะไรไม่ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ แหล่งจ่ายไฟ หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)นั่นเองเพาเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่หลักก็คือ เปลี่ยนแรงดันกระแสสลับจากไฟบ้าน 220โวลท์เอซีให้เป็นแรงดันไฟตรงดีซีที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือคอมพิวเตอร์พีซีนั้น ส่วนใหญ่จะบรรจุในเคสด้านหลังถ้ามองไปที่หลังเคสจะเห็นก่องเหล็กสี่เหลี่ยมมีช่องเสียบสายไฟและพัดลมเพื่อระบายความร้อน

      -  
                 hard disk
        Harddisk หมายถึง จานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กใข้เก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากๆ โดยปกติจะบบรจุไว้ในกล้องมิดชิด บางทีเรียก "Fixed disk" Harddisk เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลไว้ด้เป็นการถาวรตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลก็จะไม่ศูนย์หายไปไหน สามารถอ่านเละบันทึกข้อมูลเพิ่มลงได้ ขนาดความจุวัดกันเป็น MB หรือ GB  ความเร็วทั่วไปคือ 5400 รอบต่อนาทีแต่ในปัจจุบันนี้เริ่มนิยมความเร็ว 7200 รอบต่อนาทีเนื่องจากมีราคาต่างจาก 5400 รอบ เพียงไม่กี่ร้อยบาท ส่วน Harddisk ที่เป็น scsi port นั้นราคายังสูงมากแต่มีความเร็วหมุนจานที่ 10000 รอบต่อนาทีขึ้นไป

      -                                                                              CD-ROM / CD-RW / DVD
     ไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม (CD-RW) ซีดีเพลง (Audio CD) โฟโต้ซีดี (Photo CD) วิดีโอซีดี (Video CD) โดยไดรฟ์ทั้งสามประเภท จะมีความสามารถในการอ่านข้อมูล จากแผ่นซีดีที่กล่าวมาข้างต้นอยู่แล้ว แต่ถ้าหากคุณต้องการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้ด้วย จะต้องเลือกใช้ไดรฟ์ CD-RW และถ้าต้องการอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD ก็ต้องใช้ไดรฟ์ DVD นอกจากนี้ยังมีไดรฟ์อีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า Combo Drive คือเป็นไดรฟ์ที่รวมทั้งไดรฟ์ DVD และไดรฟ์ CD-RW อยู่ในไดรฟ์เดียว ทำให้ทั้งดูหนังฟังเพลง บันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้เลย ความเร็วของไดรฟ์ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 8X, 40X, 50X ยิ่งมากก็คือยิ่งเร็ว ส่วน CD-RW นั้นจะมีตัวเลขแสดง เช่นเดียวกัน เพียงแต่จะเพิ่มความเร็วในการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี เช่น 24/10/40X นั่นคือความเร็วในการบันทึกแผ่น CD-R สูงสุด ความเร็วในการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD-RW และความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีโปรแกรม หรือซีดี เพลง

 -                                                                                
             Video Card
การ์ดจอ (Video Card) เป็นคำเก่าที่ใช้เรียก การ์ดแสดงผล  หรือ กราฟฟิกการ์ด (Graphic card) จริง ๆ คือการ์ดเดียวกันคะ เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงบนจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร หรือ รูปภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยจอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจากการ์ดแสดงผลอีกทีหนึ่ง  เพราะฉะนั้นทั้งการ์ดแสดงผลและจอภาพจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมาแสดงบนจอภาพ  จอภาพจะต้องสนับสนุนความสามารถที่การ์ดแสดงผลสามารถทำได้

      -    

             sound card
เป็นแผงวงจรอิเลคทรอนิกที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้ ร่วมกับคอมพิวเตอร์ ให้แสดงผลออกมาเป็นเสียง ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆ หรือเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ เข้าเป็น วงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่าง ๆ สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ Sound Card



2. Driver คืออะไร
      -      driver  คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการประสานหรือติดต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเรา เข้ากับระบบปฏิบัติการ OS Windows หรือ Linux ยกตัวอย่างเช่น หากเราพึ่งซื้อเครื่องพรินเตอร์มาใหม่จำนวน 1 เครื่อง ซึ่งจะมาพร้อมสาย USB ในการเชื่อมต่อและแผ่น CD DRIVER ของเครื่องพิมพ์รุ่นนั้น ซึ่งเราจำเป็นต้องทำตามคำแนะนำในการติดตั้ง ด้วยการใส่แผ่น CD DRIVER ที่มาพร้อมกับเครื่องพรินเตอร์นั้น เพื่อทำการติดตั้ง Driver ของเครื่องพิมพ์เครื่องนั้นลงในวินโดว์ของเรา ซึ่งจะเป็นตัวเชื่อมต่อหรือว่าทำให้คอมพิวเตอร์ของเรารู้จักอุปกรณ์พรินเตอร์ที่นำมาเชื่อมต่อนั้นเอง จึงจะทำให้เราสามารถใช้งานเครื่องพิมพ์ได้อย่างถูกต้องต่อไป เช่นเดียวกันกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เช่น Sound card drivers หรือไดร์ฟเวอร์ของการ์ดเสียง ก็จำเป็นจะต้องมีตัว driver software ติดตั้งให้วินโดว์รู้จักอุปกรณ์เช่นกันจึงจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เช่น การ์ดจอ video cards, keyboards, monitors, และอื่นๆ