1. บอกส่วนประกอบภายในเคส พร้อมทั้งอธิบายการทำงานอย่างละเอียด
-
Microprocessor / CPU (Central Processing Unit)
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย
- RAM (Random Access Memory)
หน่วยความจำแรม หน่วยความจำชนิดนี้จะบันทึกและอ่านข้อมูลด้วยกระแสไฟฟ้า แล้วต้องมีกระแสไฟจ่ายให้ตลอดเวลา ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมก็จะหายไปด้วย แรมจะถูกนำมาใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่น หากมีข้อมูลที่ซีพียูจำเป็นต้องใช้งานบ่อยๆ ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่แรมก่อน เพื่อให้ซีพียูเอาข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากแรมรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์นั่นเอง แรมยังมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น DRAM, DDRRAM, SDRAM, RDRAM, FlashRAM, VRAM เป็นต้น การเลือกซื้อแรมนั้นต้องดูว่าเมนบอร์ดรุ่นที่ต้องการซื้อหรือที่มีอยู่ มีซ็อคเก็ตสำหรับติดตั้งแรมแบบไหน เช่น เมนบอร์ดยี่ห้อ MSI รุ่น MS6373 มีสล็อตแรมแบบ 3DDR DIMM ก็คือมีซ็อคเก็ตสำหรับติดตั้งแรมได้สามชิ้น โดยแรมที่ใช้กับเมนบอร์ดนี้ต้องเป็นแรมแบบ DDR
อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามักจะมองข้ามไปและเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเพราะถ้าขาดเจ้าตัวนี้แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเราก็เปรียบเสมือนกล่องเหล็กธรรมดาๆใช้การอะไรไม่ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ แหล่งจ่ายไฟ หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)นั่นเองเพาเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่หลักก็คือ เปลี่ยนแรงดันกระแสสลับจากไฟบ้าน 220โวลท์เอซีให้เป็นแรงดันไฟตรงดีซีที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือคอมพิวเตอร์พีซีนั้น ส่วนใหญ่จะบรรจุในเคสด้านหลังถ้ามองไปที่หลังเคสจะเห็นก่องเหล็กสี่เหลี่ยมมีช่องเสียบสายไฟและพัดลมเพื่อระบายความร้อน
Harddisk หมายถึง จานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กใข้เก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากๆ โดยปกติจะบบรจุไว้ในกล้องมิดชิด บางทีเรียก "Fixed disk" Harddisk เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลไว้ด้เป็นการถาวรตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลก็จะไม่ศูนย์หายไปไหน สามารถอ่านเละบันทึกข้อมูลเพิ่มลงได้ ขนาดความจุวัดกันเป็น MB หรือ GB ความเร็วทั่วไปคือ 5400 รอบต่อนาทีแต่ในปัจจุบันนี้เริ่มนิยมความเร็ว 7200 รอบต่อนาทีเนื่องจากมีราคาต่างจาก 5400 รอบ เพียงไม่กี่ร้อยบาท ส่วน Harddisk ที่เป็น scsi port นั้นราคายังสูงมากแต่มีความเร็วหมุนจานที่ 10000 รอบต่อนาทีขึ้นไป
- CD-ROM / CD-RW / DVD
ไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม (CD-RW) ซีดีเพลง (Audio CD) โฟโต้ซีดี (Photo CD) วิดีโอซีดี (Video CD) โดยไดรฟ์ทั้งสามประเภท จะมีความสามารถในการอ่านข้อมูล จากแผ่นซีดีที่กล่าวมาข้างต้นอยู่แล้ว แต่ถ้าหากคุณต้องการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้ด้วย จะต้องเลือกใช้ไดรฟ์ CD-RW และถ้าต้องการอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD ก็ต้องใช้ไดรฟ์ DVD นอกจากนี้ยังมีไดรฟ์อีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า Combo Drive คือเป็นไดรฟ์ที่รวมทั้งไดรฟ์ DVD และไดรฟ์ CD-RW อยู่ในไดรฟ์เดียว ทำให้ทั้งดูหนังฟังเพลง บันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้เลย ความเร็วของไดรฟ์ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 8X, 40X, 50X ยิ่งมากก็คือยิ่งเร็ว ส่วน CD-RW นั้นจะมีตัวเลขแสดง เช่นเดียวกัน เพียงแต่จะเพิ่มความเร็วในการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี เช่น 24/10/40X นั่นคือความเร็วในการบันทึกแผ่น CD-R สูงสุด ความเร็วในการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD-RW และความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีโปรแกรม หรือซีดี เพลง
-
การ์ดจอ (Video Card) เป็นคำเก่าที่ใช้เรียก การ์ดแสดงผล หรือ กราฟฟิกการ์ด (Graphic card) จริง ๆ คือการ์ดเดียวกันคะ เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงบนจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร หรือ รูปภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจากการ์ดแสดงผลอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นทั้งการ์ดแสดงผลและจอภาพจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมาแสดงบนจอภาพ จอภาพจะต้องสนับสนุนความสามารถที่การ์ดแสดงผลสามารถทำได้
เป็นแผงวงจรอิเลคทรอนิกที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้ ร่วมกับคอมพิวเตอร์ ให้แสดงผลออกมาเป็นเสียง ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆ หรือเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ เข้าเป็น วงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่าง ๆ สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ Sound Card
2. Driver คืออะไร
2. Driver คืออะไร
- driver คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการประสานหรือติดต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเรา เข้ากับระบบปฏิบัติการ OS Windows หรือ Linux ยกตัวอย่างเช่น หากเราพึ่งซื้อเครื่องพรินเตอร์มาใหม่จำนวน 1 เครื่อง ซึ่งจะมาพร้อมสาย USB ในการเชื่อมต่อและแผ่น CD DRIVER ของเครื่องพิมพ์รุ่นนั้น ซึ่งเราจำเป็นต้องทำตามคำแนะนำในการติดตั้ง ด้วยการใส่แผ่น CD DRIVER ที่มาพร้อมกับเครื่องพรินเตอร์นั้น เพื่อทำการติดตั้ง Driver ของเครื่องพิมพ์เครื่องนั้นลงในวินโดว์ของเรา ซึ่งจะเป็นตัวเชื่อมต่อหรือว่าทำให้คอมพิวเตอร์ของเรารู้จักอุปกรณ์พรินเตอร์ที่นำมาเชื่อมต่อนั้นเอง จึงจะทำให้เราสามารถใช้งานเครื่องพิมพ์ได้อย่างถูกต้องต่อไป เช่นเดียวกันกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เช่น Sound card drivers หรือไดร์ฟเวอร์ของการ์ดเสียง ก็จำเป็นจะต้องมีตัว driver software ติดตั้งให้วินโดว์รู้จักอุปกรณ์เช่นกันจึงจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เช่น การ์ดจอ video cards, keyboards, monitors, และอื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น